เม้า

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

เรื่อง HTML

1. HTML คืออะไร


ตอบ     HTML ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสร้างโฮมเพจ




2. รูปแบบการใช้คำสั่ง

ตอบ      โครงสร้างพื้นฐาน HTML
โครงสร้าง HTML ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ
1. ส่วนหัว ( Head )
2. ส่วนเนื้อหา ( Body )
โดย CODE จะเป็นแบบนี้ครับ


1.<HTML>
2.<HEAD>
3.</HEAD>
4.<BODY>
5.</BODY>
6.</HTML>


คำสั่งหมายเหตุ !
     รูปแบบคำสั่ง <!.........>
            ในการเขียนโปรแกรมเราควรมีหมายเหตุ( Comment ) เอาไว้ กันความหลงลืมของเนื้อหาที่เราเขียนไว้ได้    ซึ่งข้อความที่อยู่ระหว่าง <!.และ..> ที่เราหมายเหตุไว้จะไม่มีการนำไปแสดงบนจอภาพแต่อย่างใด

คำสั่งเริ่มต้น

     รูปแบบคำสั่ง   <HTML>........</HTML>  คำสั่ง   <HTML> ซี่งจะถือเป็นคำสั่งเริ่มต้นของการเขียน HTML และคำสั่ง </HTML> จะเป็นส่วนของการจบ

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 5 ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์

1)  ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร?

ตอบ    มนุษย์ ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)


2)  ภาษาคอมพิวเตอร์ มีกี่ระดับ อะไรบ้าง ยกตัวอย่าง 2 ภาษา


ตอบ    ภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)และภาษาระดับสูง (High Level Language)

    2.1ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียน โปรแกรมใหม่ทั้งหมด


    2.2ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)

เนื่อง จากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language)

ตัวอย่าง
ภาษาแอสเซมบลี






    

3)   ตัวแปลภาษา

ตอบ    1. คอมไพเลอร์ (Compiler)
         เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอลและภาษาฟอร์แทรกให้เป็นภาษาเครื่อง การทำงานจะใช้หลักการแปลโปรแกรมต้นฉบับ ทั้งโปรแกรมเรียกใช้งาน ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมก็สามารถเรียกจากไฟล์เรียกใช้งาน โดยไม่ต้องทำการแปลหรือคอมไพล์อีก ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่คอมไพล์โปรแกรมต้นฉบับที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง คอมไพเลอร์จะตรวจสอบโครงสร้างไวยากรณ์ของคำสั่งและข้อมูลที่จะใช้ในการคำนวณ และเปรียบเทียบต่อจากนั้นคอมไพเลอร์จะสร้างรายการข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Program listing) เพื่อใช้เก็บโปรแกรมต้นฉบับและคำสั่งที่เขียนไม่ถูกต้องตามกฏ หรือโครงสร้างของภาษานั้น ๆ ไฟล์นั้นมีประโยชน์ในการช่วยโปรแกรมเมอร์ในการแก้ไขโปรแกรม (debug)
     2. อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter)
         เป็นตัวแปลระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์แต่จะแปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่งตลอดไปทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมกระทำได้ง่าย และรวดเร็ว การแปลโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์จะไม่สร้างโปรแกรมเรียกใช้งาน ดังนั้นจะต้องทำการแลใหม่ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้งาน ตัวอย่างภาษาที่ใช้ตัวแปลอินเตอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC)
     3. แอสเซมเบลอ (assembler) 
         เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลี (assembly) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง








อ้างอิง  
https://surangsh.wordpress.com




     

ใบงานที่ 4 โปรเเกรมคอมพิวเตอร์

โปรเเกรมคอมพิวเตอร์





1)  โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ตอบ  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่งหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ  เราจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่ง  ซึ่งต้องสั่งเป็นขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า "โปรแกรม"
      


2)   โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท

ตอบ   3  ประเภท  คือ
           
        (1) โปรแกรมระบบ ( System Software )

         ความหมาย    ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (OS : Operating System) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่คอยดูแลระบบ รวมทั้งติดต่อกับฮาร์ดแวร์ส่วนต่างๆ ควบคุมการทำงานของคีย์บอร์ด จอภาพ ระบบอ่านและบันทึกข้อมูล ทำให้ผู้ใช้และผู้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ ไม่ต้องเขียนโปรแกรมติดต่อกับระบบเอง โปรแกรมประเภทนี้ที่เรารู้จักได้แก่ ดอส (DOS : Disk Operating System) , โปรแกรม UNIX , โปรแกรม Window 8






        (2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( Utility Program )

      ควาหมาย    โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอักชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2 ชุดเข้าด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูลเป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาหรือวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งตรวจสอบระบบได้อีกด้วย โดยมีโปรแกรมที่ทำงานหลายประเภท เช่น โปรแกรมตรวจสอบความเร็วของคอมพิวเตอร์ , โปรแกรม McAfee Virus Scan สำหรับตรวจหาไวรัส , โปรแกรมตรวจสอบตัวเครื่อง , โปรแกรม WinZip สำหรับบีบข้อมูล เป็นต้น



        (3) โปรแกรมประยุกต์ 

         ความหมาย      จะเป็นพวกเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาของระบบ โปรแกรมอเนกประสงค์ คือโปรแกรมตัวเล็ก ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้านไปอย่าง โปรแกรมบีบอัดไฟล์ Winzip, Winrar หรือ โปรแกรมดูภาพจำพวก ACDsee โปรแกรม MS Word สำหรับการพิมพ์งานเอกสารรูปแบบต่างๆ, โปรแกรม MS Excel สำหรับการทำเอกสารที่เป็นแบบฟอร์ม กราฟ หรือการเก็บข้อมูล และโปรแกรม MS PowerPoint สำหรับการทำไฟล์นำเสนองาน (Presentation) ระบบปฏิบัติการ จำเป็นที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จะต้องมี เพื่อทำให้เราใช้งานโปรแกรมต่างๆจากอุปกรณ์ชนิดนั้นๆ ได้อย่าง PC, Notebook, Netbook ก็จะมี Windows เป็นระบบปฏิบัติการ




       

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 3

การถ่ายทอดความคิดในการเเก้ปัญหาด้วย
"อัลกอริทึม"


1)  การเขียนรหัสจำลอง ( Pseudo Code)


ตอบ       การเขียนรหัสจำลองหมายถึง การเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความ
หมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที แต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษา
อังกฤษก็ได้
โครงสร้างของรหัสจำลองเริ่มต้นด้วยข้อความ Begin แล้วอธิบายขั้นตอนการทำงานโดยใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรม เช่น

คำสั่ง read หมายถึง การอ่านค่าหรือรับค่าข้อมูลตัวแปรตามที่กำหนดไว้

คำสั่ง print หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
และพิมพ์ข้อความ End เมื่อจบการทำงาน

การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ภายในโปรแกรมด้วย
การสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (= ) แทนการกำหนดค่าตัวแปร

ตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 จงเขียน Pseudocode จากโปรแกรมหาผลรวมของตัวเลข 2 ค่า 
แล้วแสดงผลรวมออกมาทางหน้าจอ
1. read x , y
2. calculate sum = x + y
3. print sum




การเขียนผังงาน
( FlowChart )

1)  ความหมาย
ตอบ       แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้                                สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความ                    เข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไรประโยชน์ของผังงาน


2)  สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน
ตอบ     



3)  ตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง
ตอบ      ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีหลักการหรือขั้นตอนที่สำคัญ                         ทั้งหมด 5 ขั้นตอนได้แก่
              1. การวิเคราะห์ปัญหา
              2. การออกแบบโปรแกรม
              3. การเขียนโปรแกรม
              4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
              5.ทำเอกสารประกอบโปรแกรม



วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 2 การเเก้ปัญหาด้วยกระบวนการ เทคโนโลยีสารสนเทศ

การเเก้ปัญหาด้วยกระบวนการ เทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยปกติมนุษย์มีกระบวนในการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State The Problem) 

ตอบ      ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา
              แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไป
              จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือ
              การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือ
              เงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล
              
กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้

การระบุข้อมูลเข้า
ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
การระบุข้อมูลออก
ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
การกำหนดวิธีประมวลผล
ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก


2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools And Algorithm Development)    
              
ตอบ      ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
              หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่
              และสิ่งที่ต้องการหาในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
              หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่
              และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ 1
              แล้ว
              เราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา
              ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก
              หากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้วก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่
              เคยปฏิบัติมา

ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา
โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหา
ซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหา




3) การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) 

ตอบ       หลังจากที่ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว
               ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้
               การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน
               ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ ปัญหา
               ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้
               ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะดำเนินการ
               หากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้


4) การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) 

ตอบ       หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว
               ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า
               วิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
               โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียด
               ของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้าและข้อมูลออก
               เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณีอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้อง                ปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
               ที่สุด

ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เป็นเสมือนขั้นบันได (Stair) ที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาต่างๆ
ได้ รวมทั้งการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา ก็ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนทั้ง
4 นี้เช่นกัน


อ้างอิง  
1) https://rayochaan.wordpress.com
2) http://www.thaigoodview.com/node/83018

My Profile




Profile
Hello,My name Chotchai Sirintused
Nick name is Do'X I was born in Thailand
My birthday is 9 april 2002  now i'm 15 year old
and next month I'm 16 year old
I'm has study in Assumtion College Rayong.
My favourite colour is yellow and orange.
My dream is Artist singer and Designer.
I like a move it move it.

If you have a problem you can call me 
-> 099-901-9844 <-
Or you can give a message in
-> Line : doxzryk <-







วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

เรื่องกระบวนเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ






1) ความหมายและขั้นตอนของการแก้ไขปัญหา

   ตอบ   ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ 

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
2. การวางแผนในการแก้ปัญหา
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหา
4. การตรวจสอบและปรับปรุง








2) ยกตัวอย่างปัญหา 1 ปัญหา พร้อมวิธีการแก้ปัญหา



                                                                                                                                                                            ตอบ      ปัญหา :   นอนน้อย นอนไม่พอ นอนไม่หลับ                                                                                      วิธีเเก้ปัญหา :  1. ต้องนอนเยอะๆ                                                                                                                          2.อ่านหนังสือก่อนนอน                                                                                                                  3.กินให้เยอะ จะได้อิ่มง่วงก็นอน                                                                                                      4.ออกกำลังกายทุกเย็นให้รู้สึกเหนื่อย จะได้หลับสะบาย                                                                                      


    
     อ้างอิง


course outline

http://www.acr.ac.th/acr/CourseOutline/M/pdf/M5/Computer(T).pdf






ของมันดีจะบอกให้ ☻☻

ดูดิ








                                                                 ใครอยากเป็นเศรษฐี

ใบงานที่ 1 เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์

ใบงานที่ 1 เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ (Computer Project) 1)  โครงงานหมายถึงอะไร ตอบ     เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่...